วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันเข้าพรรษา



การปวารณาเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ที่ใช้กันในภาษาไทย เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า "พรรษ
หมายถึง ฝน หรือ ปี แต่ถ้าเป็นภาษาบาลีจะมาจากคำว่า "วัสสูปนายิกทิวส
วันคือดิถีเป็น เป็นที่น้อมเข้าไปใกล้ซึ่งกาลฝน ดิถีเข้าพรรษาหรือวันเข้าพรรษา
การอยู่จำพรรษาของพระภิกษุ ถือเป็นกิจที่ภิกษุจะต้องปฏิบัติเพราะเป็น
พุทธบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติโทษสัหรับภิกษุผู้ไม่อธิษฐานอยู่จำพรรษาไว้ 
การอธิษฐานอยู่จำพรรษาจึงหมายถึงการที่พระภิกษุอธิษฐานอยู่ประจำในอาวาสใด 
หรือในเสนาสนะที่พอจะกันแดดกันฝนได้ ต้องอยู่ประจำในที่นั้นประจำตลอด
เป็นเวลา ๓ เดือน ไม่เที่ยวจาริกไปค้างคืนในที่อื่นเว้นแต่มีเหตุจำเป็นต้องกลับมา
ให้ทันก่อนอรุณขึ้น ถ้ามีกิจธุระที่เร่งด่วนกลับมาไม่ทันในวันนั้นก็ต้องทำสัตตาหะ 
และต้องกลับมาภายใน ๗ วัน กล่าวสำหรับสามเณรก็ต้องมีการอธิษฐานจำพรรษา 
แต่ไม่มีการปวารณาออกพรรษา เพราะการปวารณาเป็นสังฆกรรม 
และอีกประการหนึ่งสามเณรไม่มีการนับจำนวนพรรษาเหมือนภิกษุ
ประเภทแห่งวันเข้าพรรษา มีอยู่ด้วยกัน ๒ วัน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ 
ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (ในปีที่เป็นอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน 
ให้เข้าพรรษาวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง) เรียกกันว่า วันเข้าพรรษาต้น 
หรือปุริมพรรษา หรือถ้ามีเหตุจำเป็นที่ทำให้การอธิษฐานอยู่จำพรรษไม่ทันในวันนั้น
ก็ให้เลื่อนการอธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ เรียกกันว่า วันเข้าพรรษาหลังหรือปัจฉิมพรรษา 
แต่ที่พระภิกษุในไทยของเรายึดถือเป็นหลักปฏิบัติให้ตรงกันนั้น คือ 
การอธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้นหรือปุริมพรรษา 
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติให้ตรงกันทุกวัด

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา นับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา
ทางราชการของไทยก็ได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการอีกวันหนึ่งด้วย
นอกจากนั้นการอยู่จำพรรษาของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 
ยังอำนวยประโยชน์เพื่อพุทธศาสนิกชนหลายด้านจึงพอที่จะกล่าวความสำคัญ
ของวันเข้าพรรษาที่เป็นหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้
วันเข้าพรรษา เป็นการอธิษฐานอยู่จำพรรษามีผลทำให้ภิกษุต้องหยุด
การเที่ยวไปค้างแรมในที่อื่น ต้องอยู่ประจำในอาวาสแห่งใดแห่งหนึ่ง
ตามที่ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้
การอยู่จำพรรษาของภิกษุในอาวาสนั้น ๆ เป็นเวลา ๓ เดือน เป็นโอกาสที่จะได้
ใช้เวลาช่วงนี้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
สำหรับพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้าได้เข้ามาบวชเพื่อ
ศึกษาหลักธรรมในทางศาสนาให้ยิ่งขึ้นการอยู่เป็นประจำของภิกษุเป็นโอกาสให้
พุทธศาสนิกชนได้มีการบำเพ็ญบุญกุศลในด้านต่าง ๆ เช่น ทาน ศีล ภาวนาได้สะดอกยิ่งขึ้น
เทศกาลวันเข้าพรรษายังเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนจะได้ลด ละ เลิกอยายมุข
อันเป็นทางแห่งความเสื่อต่าง ๆ ตามหลักของวิรัติ ๓ คือ
สัมปัตตวิรัติ งดเว้นได้เฉพาะหน้า คือแม้สบโอกาสที่จะทำความชั่วได้ แต่ก็มีสติยั้งคิด 
สามารถระงับใจไม่ทำเช่นอาจโกงได้แต่ไม่ทำ อาจฆ่าได้แต่ไม่ฆ่า เป็นต้น
สมาทานวิรัติ งดเว้นได้ด้วยการสมาทาน คือมีเจตนาตั่งใจไว้ว่าจะไม่ทำความชั่ว 
เช่นสมาทานศีลไว้ก็งดเว้นตามที่ตั้งใจไว้ได้
สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นได้เด็ดขาด คือไม่ทำตลอดไป ซึ่งเป็นการงดเว้นของพระอริยบุคคล
6.วันเข้าพรรษาเป็นต้นเหตุให้เกิดประเพณีตามมาอีกหลายประเพณี เช่น 
การถวายเทียน การถวายพุ่ม ถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นต้น

การประกอบพิธีเข้าพรรษาในไทย
การประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษาของปวงชนไทย น่าจะมีมาแต่โบราณกาลแล้ว 
แต่มาปรากฎเด่นชัดในครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พิธีนี้มีการกล่าวไว้ในหนังสือ
นางนพมาศว่า "ประชาชนชายหญิงชาวกรุงสุโขทัยนั้นรวมตัวกันไปบำเพ็ญบุญกุศล
ตามวัดต่าง ๆ มีการจัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษาแห่ไปทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง 
มีการตกแต่งและจัดเป็นริ้วขบวนอย่างสวยงาม 
นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดเตรียมของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณสารูปไปถวายพระภิกษุ
ที่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ อีกด้วย"
          สำหรับการบำเพ็ญกุศลของพุทธศานิกชนในปัจจุบันี้เมื่อถึงประเพณี
วันเข้าพรรษาก็จะร่วมกันบำเพ็ญบุญกุศลเป็นพิเศษตั้งแต่ก่อนวันเข้าพรรษาจะมาถึง
มีการร่วมกันหล่อเทียนจำนำพรรษาเพื่อนำไปถวายวัดต่าง ๆ การหล่อเทียนในปัจจุบันนี้
เท่าที่เห็นในปัจจุบันทางวัดจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ มีการจัดเตรียมสีผึ้งไว้
ให้ประชาชนได้มราร่วมหล่อเทียนกันที่วัด เมื่อเสร็จแล้วก็จะร่วมกันแกะสลักต้นเทียน
ที่หล่อนั้นอย่างสวยงาม มีการจัดขบวนเพื่อแห่เทียนนั้นพร้อมกับมีการละเล่น
ตามธรรมเนียมนิยมของแต่ละท้องถิ่นเป็นที่เอิกเกริกเฮฮาสนุกสนาน 
เสร็จแล้วก็นไปถวายพระสงฆ์
          ในบรรดาการจัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ในปัจจุบันนี้จังหวัดที่ถือว่า
จัดเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และเป็นงานระดับประเทศ มีนักท่องเทียวทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติให้ความสนใจไปเที่ยวชมและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
ก็คืองานแห่เทียนจำนำพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี
          เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็มีการจัดเตรียมพุ่มซึ่งภายในก็จะบรรจุของใช้ที่จำเป็น
และเหมาะสมกับพระภิกษุสามเณรจะใช้สอยได้และผ้าอาบน้ำฝนไปถวาย 
การถวายถ้าของมีมากกว่าภิกษุ-สามเณรก็จะมีการทำเป็นสลากให้ภิกษุ-สามเณรจับสลากก่อน 
เมื่อจับได้ของทายกทายิกาท่านใดก็รับพุ่มของผู้นั้น แต่ในบางแห่งก็แล้ว แต่ว่าจะถวาย
องค์ใดก็สุดแต่เจ้าภาพ นอกจากนั้นการถวายเทียนจำนำพรรษาในปัจจุบัน 
ก็มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะบรรดาร้านค้าต่าง ๆ ได้จัดทำเทียนพรรษาขนาดต่าง ๆ 
ให้ผู้มีศรัทธานำไปถวายเป็นจำนวนมาก แต่บางท่านก็มีความคิดว่า 
ในสมัยปัจจุบันนี้ความจำเป็นในการใช้เทียนน้อยลง เพราะวัดต่าง ๆ 
ใช้ไฟฟ้ากันเป็นส่วนใหญ่ จึงนำอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ฟลอดไฟไปถวายแทนเทียนก็มี 
ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียว เป็นการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย
          นอกจากนั้น ในช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนก็จะมีความตั้งใจ
เป็นพิเศษในการทำบุญทำกุศล เช่นทำบุญใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน งดเว้นการดื่มสุรา
และการเที่ยวเตร่ ตอนกลางคืน สำหรับพุทธศาสนิกชนบางท่านที่ไม่มีภาระที่ห่วงมาก
ก็อาจจะมีการไปนอนค้างที่วัดในวันพระ เพื่อสมาทานรักษาอุโบสถศีลและในวันเข้าพรรษานี้ 
ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้ร้านค้างดการจำหน่ายสุรา และขอให้ประชาชนงดเว้นการดื่มสุรา 
และงดเว้นอบายมุกทุกอย่าง ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่พอใจพอสมควร แต่ถ้าหากมีการรณรงค์กัน
อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี คงจะทำให้ได้ผลดีกว่าที่เป็นอยู่
          วันเข้าพรรษา ในส่วนของพระราชพิธีนั้น ถือเป็นพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล 
แต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีดังมีใจความตามที่ปรากฎในหนังสือนางนพมาศ 
พอประมวลได้ว่า "เมื่อถึงเดือน ๘ นักขัตฤกษ์บูชาใหญ่ มีการประกอบพิธีอาสาธมาศ
พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะอยู่จำพรรษาทุกอาราม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
จึงมีพระดำรัสสั่งให้จัดแจงตกแต่งพระอารามหลาวงทุกแห่ง แล้วทรงถวายทานแด่พระสงฆ์ 
เช่นผ้าจำนำพรรษา สลากภัตร คิลานภัตร และเทียนจำนำพรรษา เป็นต้น ทรงบูชาพระบรมธาตุ 
พระพุทธปฏิมากรตลอดไตรมาส ถวายธูปเทียน น้ำมันเติมประทีปแด่พระสงฆ์
ที่จำพรรษาในพระอารามหลาง ทั้งในเมืองและนอกเมืองทุกพระอาราม"๑ 
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่กัว พระราชพิธี ๑๒ เดือน, ๒๔๙: ๔๘๕ - )
          ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น วันเข้าพรรษานี้มีการสวดอย่างหนึ่งเรียกว่า 
สวดโอ้เอ้วิหารลาย คือ การสวดมหาชาติคำหลวงในพระอุโบสถวันพระศรีรัตนศาสดาราม 
ส่วนการประกอบพระราชพิธีในปัจจุบันเรียกกันว่า พระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลวันเข้าพรรษา
มีงานตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดเทียนจำนำพรรษา ถวายพุ่มเทียนบูชา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากนั้นทรงประเคนพุ่มเทียนแด่พระสงฆ์ 
ในปัจจุบันนี้นิมนต์พระราชาคณะขึ้นไป เข้ามารับพุ่มเทียนปีหนึ่งประมาณ ๕๐๐ รูป 
และเมื่อถึงวันเข้าพรรษาพระราชพิธีที่สำคัญอีกอย่างหนึงคือ การเปลี่ยนเครื่อ่งทรง
ของพระแก้วมรกต จากเครื่องทรงฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนเครื่องทรง
ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษาของทุกปี

ไม่มีความคิดเห็น: